ความกล้าและการตัดสินใจที่แน่วแน่
“ผู้ป่วยคนแรกหลังจากได้รับการรักษาด้วยกัญชา พูดเก่งขึ้นมาทันที แถมขออาหารเพิ่มด้วย” นายแพทย์ วิลเลียม บรูก โอชอเนสซี่ ผู้นำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ตะวันตกคนแรกของโลก
วิลเลียม บรูก โอชอเนสซี่ เป็นแพทย์ชาวอังกฤษที่สนใจ Cannabis indica พืชท้องถิ่นในโกลกาตา ประเทศอินเดียมาสักพักแล้ว แต่ยังไม่มีแพทย์ชาวตะวันตกคนไหนเริ่มศึกษามันอย่างจริงๆ จังๆ เขาเชื่อว่ากัญชาน่าจะมีคุณสมบัติทางยาที่ถูกมองข้ามไปจากโลกตะวันตกเป็นเวลาช้านาน และอาจถึงเวลาแล้วที่เขาจะเริ่มทำการทดลองกับผู้ป่วยมนุษย์ในความหมายของวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการวิจัยอันเป็นที่ยอมรับสากล
ช่วงเย็นของวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1838 ขณะที่นายแพทย์หนุ่ม ‘วิลเลียม บรูก โอชอเนสซี่’ (William Brooke O’Shaughnessy) กำลังนั่งทอดหุ่ยอย่างสบายอารมณ์ในบ้านพัก เด็กชายที่เขาคุ้นหน้าดีวิ่งกุลีกุจอตะโกนหน้าบ้าน “หมอวิลเลียม หมอวิลเลียม” เมื่อเขาออกไปพบ เด็กชายจึงยื่นข้อความด่วนที่ส่งตรงถึงเขาโดยเฉพาะ ข้อความนี้มาจากโรงพยาบาลในนครโกลกาตา ประเทศอินเดีย ที่วิลเลียมประจำตำแหน่งแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัดของบริษัท East India Company
ในอินเดียผลการรักษาของกัญชากลายเป็นที่รู้จักของคุณหมอ จากเรียนจากคนพื้นเมือง กัญชาและพืชอื่น ๆ ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์และสันทนาการในภูมิภาคนี้เป็นเวลาหลายพันปี
“คุณมาที่โรงพยาบาลด่วนเลยได้ไหม ผู้ป่วยที่คุณดูแลอยู่มีอาการแปลกๆ” ข้อความระบุด้วยลายมือที่เขียนอย่างเร่งรีบ วิลเลียมที่ได้รับข้อความดังกล่าวถึงกับรีบแต่งตัวออกไปทันทีและให้ทิปกับเด็กส่งข้อความ วิลเลียมดูกระตือรือร้นเป็นพิเศษ เพราะสำหรับเขาแล้วผู้ป่วยคนนี้ค่อนข้างเป็น ‘คนไข้พิเศษ‘ เนื่องจากเขากำลังทำการรักษานอกเหนือตำราแพทย์ตะวันตกที่เคยทำกันมา เกิดอะไรขึ้นกับ ผู้ป่วย No.1 ที่บุกเบิกการรักษาด้วย ‘กัญชา’ (cannabis) เป็นรายแรกของเวชศาสตร์ตะวันตก
ปี 1838 นั่นเองที่คนไข้กลุ่มแรกได้รับการทดลองรักษาด้วยกัญชา วิลเลียมทำการทดลองครั้งแรกกับเรซิ่นเกี่ยวกับโรคไขข้อรูมาตอยด์ ผู้ป่วย 3 คนของเขาอยู่ในโรงพยาบาลคลินิกของวิทยาลัยการแพทย์กัลกัตตา
ในปี 1839 ท่านบันทึกตั้งข้อสังเกตว่า“ คนทุกชนชั้นรวมทั้งชาวโปรตุเกสหรือ“ Kala Feringhees” และโดยเฉพาะผู้หญิงของพวกเขาบริโภคยานี้ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ผลของมันทำให้เกิดความสุข เมา ความรู้สึกอยากบิน ความอยากอาหารอย่างตะกละตะกลาม”
ดร.วิลเลี่ยม นำเสนอกรณีเคสการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกลัวน้ำ อหิวาตกโรค และบาดทะยัก ตลอดจนทารกอายุ 40 วันที่มีอาการชักกระตุกซึ่งตอบสนองต่อการบำบัดด้วยกัญชาได้ดี จากภาวะใกล้ตายไปสู่ “สุขภาพกระปี้กระเป่า” ในไม่กี่วัน.
แม้ว่ากัญชาจะถูกกล่าวถึงเป็นครั้งคราวโดยนักพฤกษศาสตร์และนักสำรวจในยุคแรก ในยุโรปและอเมริกาแต่ไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องการบำบัดรักษาโรคด้วยกัญชา จนกระทั่ง ดร.วิลเลียม เผยแพร่บทความให้กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการของ Medical and Physical Society of Calcutta ในปี 1839 มันเป็นต้นแบบของการวิจัยทางเภสัชกรรมสมัยใหม่ รวมถึงการตรวจสอบประวัติความเป็นมาของการใช้กัญชาทางการแพทย์โดยแพทย์อายุรเวชและเปอร์เซียในอินเดียและตะวันออกกลาง
คุณหมอได้บันทึกการรักษาเหล่านี้นำมาเผยแพร่แก่สังคมแพทย์บ้านเกิด จนความนิยมแพร่ขยายไปในสังคมวิคตอเรียน
Add a Comment