กัญชาถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก มีทั้งใช้ทางการแพทย์ ใช้ได้ทั่วไป และใช้ได้ไม่ผิดกฎหมาย ประเทศที่ใช้ได้ทางการแพทย์ อาทิเช่นแถบยุโรป ตะวันออก เอเชีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
นโยบายสำคัญของการใช้กัญชาทางการแพทย์
1 ปลอดภัย ในการใช้กัญชาจะต้องปลอดภัยไร้สารเจือปน และไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้คนไข้เกิดอันตราย นี่คือเหตุผลว่าทำไมกัญชาใต้ดินถึงไม่ถูกยอมรับในทางการแพทย์
2.ผู้ป่วยจะต้องได้ประโยชน์
3.ต้องไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ต้องเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ใดหรือองค์กรใดเป็นพิเศษ
รู้สู้โรค : การใช้กัญชารักษาโรคให้ได้ผล เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชารักษาโรคให้ได้ผล รวมถึงประโยชน์จากน้ำมันกัญชาในทางการแพทย์ ว่าสามารถรักษาโรคอะไรได้บ้าง ฟังคำแนะนำจาก น.อ.พิเศษ พญ.จินตนา มโนรมย์ภัทรสาร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ผู้บริหารสวัสดีคลินิกเวชกรรม
การนำกัญชามาใช้กัญชาทางการแพทย์
อิงจาก การแพทย์เชิงประจักษ์ ประกอบด้วย หลักฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ความคาดหวังของคนไข้และคุณค่าที่จะได้รับ
ประโยชน์ที่อาจจะได้รับจากกัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์โดยตรง
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
-โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา - ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- อาการปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ได้ผล
- เพิ่มความอยากอาหารและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยเอดส์
- เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคอง
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ
- โรควิตกกังวล (GAD)
- โรคมะเร็ง
- โรคอื่นๆ
อาการที่พบว่ามีความต้องการใช้น้ำมันกัญชาสูงขึ้นในปัจจุบัน
กัญชา ใช้รักษา depression ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะหนึ่งที่ความพยายามหาแนวทางการดูแลและรักษาอย่างกว้างขวาง หลังจากมีการสร้างการรับรู้ และเข้าใจต่ออาการเหล่านี้ในสังคมมากขึ้น รวมไปถึง อาการอื่นๆเช่น ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลทางสังคม เครียด ความเครียดจากอาการเจ็บป่วย ปัญหาการนอนหลับเรื้อรัง และอื่น ๆ ปัจจุบันการวิจัยการใช้กัญชาเพื่อดูแลอาการซึมเศร้ายังมีการพูดถึงผลข้างเคียงที่ควรระมัดระวัง เปรียบเทียบกับผลลัพท์ในทางที่ดีขึ้นของผู้ใช้หรือคนไข้ ว่าสิ่งใดสำคัญกว่ากัน
ส่วนประกอบของกัญชา มีสารเคมี 2 ประเภทหลักที่มีอยู่ในกัญชาคือ:
Tetrahydrocannabinol (THC) เป็นสารเคมีในกัญชาที่ส่วนประกอบจะทำงานกับระบบตอบสนองในสมองและระบบประสาท ที่ทำให้คนไข้รู้สึกสุขสบาย หรือ high ใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
Cannabidiol (CBD) เป็นส่วนประกอบอีกหนึ่งตัวที่สำคัญ ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทข ไม่ส่งผลถึงอาการมึนเมาใดใด และกำลังเป็นที่สนใจสำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าในวงกว้าง
กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยสกัดโดยธรรมชาติ มีแนวโน้มการใช้กัญชาเพิ่มขึ้นทางการแพทย์และการวิจัยคอนเซปในการใช้กัญชา
“ต้องดูแลอย่างมืออาชีพ และ ปลอดภัยต่อคนไข้”
ปรึกษาแพทย์ไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดต่อสวัสดีคลีนิกเวชกรรม
02-972-4013 ,02-972-4014 ,02-972-3981 ,093-438-1515
www.sawasdeeclinic.com
Line @sawasdeeclinic หรือคลิ้ก https://lin.ee/pmbzi0V
Add a Comment