กลุ่มอาการที่ใช้กัญชารักษา สวัสดีคลินิก

สรรพคุณน้ำมันกัญชา การใช้ประโยชน์ในการรักษา

ปัจจุบันประชาชนและผู้ป่วยจำนวนมากมีความสนใจและมีความประสงค์จะใช้สารสกัดกัญชาในการบำบัดรักษา บรรเทาอาการของโรคหรือฟื้นฟูสุขภาพ แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมืออาชีพในการพิจารณาว่าสารสกัดกัญชาเป็นการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา แพทย์หญิงจินตนา medical cannabis specialist
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา cancer, cannabinoid, cannabis clinic, cannabis in thailand, cbd, health bangkok, marijuana, medical cannabis, sawasdee clinic, thai clinic, thai herb, thai medicine, thailand cannabis, thc, cbd oil, กรุงเทพ, กัญชง, กัญชา, กัญชาการแพทย์, กัญชารักษามะเร็ง, กัญชารักษาโรค, กัญชาแก้ปวด, คลีนิก, คลีนิกกัญชา, คีโม, ซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, น้ำมันกัญชา, ประสาท, พาร์กินสัน, มะเร็ง, มะเร็งระยะสุดท้าย, มะเร็งลำไส้, มือสั่น, ยากัญชา, สมุนไพรไทย, สวัสดีคลีนิกเวชกรรม, สุขภาพผู้หญิง, เคมีบำบัด, เครียด, แพทย์หญิงจินตนา

โดยจะต้องศึกษาข้อมูลด้านวิชาการที่เป็นปัจจุบัน ก่อนที่จะเลือกสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วย และจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองด้านคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัย

ข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Document) ที่มีคุณภาพสนับสนุนยืนยันประสิทธิผลของการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาได้อย่างชัดเจน

  • ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Chemotherapy-Induced Nausea and Vomiting)
  • โรคลมชักที่รักษายาก (Refractory Epilepsy) ได้แก่ Dravet syndrome, Lennox-Gastaut syndrome โรคลมชักที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยา 2 ชนิดขึ้นไป
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
  • ภาวะปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้วไม่ได้ผล​ (Intractable Central​ Neuropathic Pain)​
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย (Cachexia)
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต (End of life)

ข้อบ่งใช้ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนอยู่จํากัด แต่มีรายงานการวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าการใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ
กลุ่มโรคทางประสาทวิทยา ได้แก่

  1. ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี หรือผู้ป่วย ที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดหรือปวดเรื้อรังจากภาวะแข็งเกร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
  2. ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ที่ได้รับความทุกข์ยากลำบากในการ ประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม จากอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งมีการดำเนินของโรคเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมผิดปกติ การนอนผิดปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินอาการ และวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสมองเสื่อม (Dementia) โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา
    กลุ่มอาการที่สำคัญ
    • ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
    • ผู้ป่วยมะเร็งเพื่อใช้ในการบรรเทาอาการปวด
    • กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร

หากผู้ป่วยมีโรคและภาวะโรคที่ไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น การพิจารณาสั่งจ่าย ผลิตภัณฑ์กัญชาควรดำเนินการภายใต้โครงการศึกษาวิจัยทางคลินิก

ในปี พ.ศ.2560 มีการศึกษาวิจัยชนิดคุณภาพสูง (randomized placebo controlled trial) ของการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็กในต่างประเทศ พบว่า ยาสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสามารถรักษาอาการชักได้ ในโรคลมชัก ชนิด Dravet syndrome และ Lennox Gastaut Syndrome ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้เพิ่มโอกาสการคุมชักได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็ก หลังจากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้มีการศึกษาวิจัยการใช้ยาสกัดกัญชาชนิดซีบีดีรวมทั้งยาสกัดกัญชาที่มีสารซีบีดีสูง (CBD: THC >20:1) มารักษาโรคลมชักรักษายากชนิดอื่นๆมากขึ้น
cancer, cannabinoid, cannabis clinic, cannabis in thailand, cbd, health bangkok, marijuana, medical cannabis, sawasdee clinic, thai clinic, thai herb, thai medicine, thailand cannabis, thc, cbd oil, กรุงเทพ, กัญชง, กัญชา, กัญชาการแพทย์, กัญชารักษามะเร็ง, กัญชารักษาโรค, กัญชาแก้ปวด, คลีนิก, คลีนิกกัญชา, คีโม, ซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, น้ำมันกัญชา, ประสาท, พาร์กินสัน, มะเร็ง, มะเร็งระยะสุดท้าย, มะเร็งลำไส้, มือสั่น, ยากัญชา, สมุนไพรไทย, สวัสดีคลีนิกเวชกรรม, สุขภาพผู้หญิง, เคมีบำบัด, เครียด, แพทย์หญิงจินตนา

ในปี พ.ศ.2560 มีการศึกษาวิจัยชนิดคุณภาพสูง (randomized placebo controlled trial) ของการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็กในต่างประเทศ พบว่า ยาสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสามารถรักษาอาการชักได้ ในโรคลมชัก ชนิด Dravet syndrome และ Lennox Gastaut Syndrome ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้เพิ่มโอกาสการคุมชักได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็ก หลังจากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้มีการศึกษาวิจัยการใช้ยาสกัดกัญชาชนิดซีบีดีรวมทั้งยาสกัดกัญชาที่มีสารซีบีดีสูง (CBD: THC >20:1) มารักษาโรคลมชักรักษายากชนิดอื่นๆมากขึ้น

ทั้งนี้การจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาให้แก่ผู้ป่วยในแต่ละครั้งต้องไม่เกินปริมาณที่ใช้สำหรับ 30 วัน

อนึ่ง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่

  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด/โรคตับ/โรคไตที่รุนแรง
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคจิตเภท/โรคจิตจากสารเสพติด/โรคซึมเศร้า/โรคอารมณ์สองขั้ว
  • มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง

สำหรับผู้สนใจเข้ารับบริการที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สถานพยาบาลนั้นๆ ล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ

ใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการกลุ่มโรคทางประสาทวิทยา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี หรือผู้ป่วย ที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดหรือปวดเรื้อรังจากภาวะแข็งเกร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ที่ได้รับความทุกข์ยากลำบากในการ ประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม จากอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งมีการดำเนินของโรคเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมผิดปกติ การนอนผิดปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินอาการ และวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสมองเสื่อม (Dementia) โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา

รักษามะเร็ง 

สารสกัดจากกัญชาอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดและยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งบางอย่างในหนูทดลองได้ หลังจากนั้น เมื่อมีการวิจัยเพิ่มขึ้น พบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริง โดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดของก้อนมะเร็ง (Angiogenesis) และลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ (Metastasis) ในโรคมะเร็งหลายชนิด ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรแกรมการตายของเซลล์มะเร็ง (Program cell death) ผ่านกระบวนการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารสกัดกัญชา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป

คลายความวิตกกังวล

จากประวัติการใช้กัญชาเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในอดีตทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารกลุ่มแคนนาบินอลน่าจะมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากลไกการออกฤทธิ์นั้นซับซ้อนและยังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน จากรายงานทางคลินิกพบว่าการใช้สาร Fatty acid amide hydrolase inhibitors (FAAH inhibitors) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Endocannabinoids มีความสามารถในการลดอาการวิตกกังวลได้ ปัจจุบันสารหลายชนิดในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก

Tags: No tags

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *