อาการ หรือ โรคอะไร ที่กัญชาทางการแพทย์เป็นประโยชน์ได้

กัญชา รักษาอะไรบ้าง ?

เมื่อโรคภัยต่างๆในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายและปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราเองหรือคนที่รัก เราจึงเริ่มมองหาทางเลือกเสริมที่เป็นตัวช่วยในการรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน กัญชาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่เห็นผลและช่วยทุเลาอาการได้อย่างดีเยี่ยม แต่หลายคนอาจสงสัยว่าโรคอะไรบ้างที่เราควรใช้กัญชาในการบำบัด บทความนี้เราจึงขอแนะนำโรคต่างๆที่เหมาะแก่รักษาด้วยกัญชาเพื่อเป็นประโยชน์และความรู้แก่ทุกคน

พืชกัญชามีส่วนประกอบของสารเคมีมากกว่า 450 ชนิด โดยมากกว่า 105 ชนิดเป็นสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มีองค์ประกอบหลักคือ THC และสารชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกัน เช่น Cannabinol (CBN), Cannabidiol (CBD), Cannabichtomme (CBC), Cannabigerol (CBG) เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการสังเคราะห์สารที่เป็นอนุพันธ์ของสาร THC ขึ้นมาใหม่อีกหลายชนิด รวมถึงการค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของสารในกลุ่มนี้

  • ลมชัก : ควบคุมอาการลมชัก (Epilepsy): ผู้ป่วยโรคลมชักคิดเป็น 1 % ของประชากรโลก และพบว่าผู้ป่วย 20-30% ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้โดยใช้ยาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อหาตัวยาชนิดใหม่ มีการทดลองในสัตว์ทดลองโดยใช้ CBD และพบว่า CBD สามารถต้านอาการชักได้ดี (เป็น Anticonvulsant ที่ดี) และไม่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท ต่อมามีการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ประสบปัญหาไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ เมื่อให้ยากันชักร่วมกับการให้ CBD 200-300 มิลลิกรัม. ต่อวันเป็นเวลา 8-18 สัปดาห์ พบว่า 37% ของผู้ป่วย ไม่เกิดอาการชักตลอดการศึกษา และอีก 37% มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับ CBD คือทำให้เกิดอาการง่วงนอน การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมด้วยการใช้ CBD ชนิดเดียวทำให้เราสามารถเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของ CBD ได้ดีมากขึ้น และในการศึกษาทางคลินิกของ Epidolex® (GW Pharmaceuticals) ซึ่งมี CBD เป็นสารสำคัญ พบว่าสามารถใช้รักษาอาการชักแบบควบคุมไม่ได้ด้วยยา (intractable epilepsy) เช่น Dravet and Lennox-Gastaut syndromesได้ และได้รับการอนุมัติโดย U.S. FDA ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561ให้สามารถใช้ในการรักษาอาการชักทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว
  • โรคพาร์กินสัน: โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่มักเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นจากความเสื่อมของสมองและระบบประสาทโดยผู้ป่วยจะมีอาการสั่นตามส่วนต่างๆของร่างกายและเคลื่อนไหวช้าลง  การใช้กัญชาในการรักษาโรคพาร์กินสันมีมาตั้งแต่ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19  “คู่มือโรคของระบบประสาท” ของ William Richard Gowers บริเวณของปมประสาทฐานซึ่งเป็นส่วนที่ส่งผลต่ออาการโรคพาร์คินสันมีตัวรับ CB1 cannabinoid ที่มีความหนาแน่นสูงมาก การใช้ยากัญชาจึงช่วยคนไข้พาร์กินสันได้ดี
  • โรคอัลไซเมอร์: อีกหนึ่งโรคฮิตอันดับต้นๆที่มักเกิดกับผู้สูงอายุเช่นเดียวกับโรคพาร์กินสัน แต่โรคนี้มีความพิเศษตรงที่หากเกิดจากกรรมพันธ์ก็ทำให้เกิดโรคได้ตั้งแต่อายุ 40ต้นๆ โดนต้นเหตุของโรคนั้นเกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลาย อาการของผู้ป่วยจะเริ่มตั้งแต่ความจำถดถอยลงเรื่อยๆจนอาจถึงขั้นสูญเสียความทรงจำ
  • โรควิตกกังวล: โรคที่ใครหลายคนในยุคนี้ต่างเป็นกันได้ทุกเพศทุกวัยจากต้นเหตุของความเครียด ที่แสดงอาการผ่านการกังวล ตื่นตระหนก ขาดสมาธิ หน้ามืด ใจสั่น หรือนอนไม่หลับล้วนเป็นสัญญาณของอาการวิตกกังวลทั้งสิ้น Cannabidiol (CBD) คือ cannabinoid ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบได้ตามธรรมชาติในพืชกัญชา (กัญชงและกัญชา) การวิจัยเบื้องต้นแสดงถึงแนวโน้มเกี่ยวกับความสามารถของน้ำมัน CBD ในการช่วยคลายความวิตกกังวล
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ: โรคอันตรายที่มักเกิดกับผู้หญิงวัยทำงานและกลุ่มช่วงวัยที่อายุเพียง 20 – 40 ปี และเป็นอีกโรคที่ส่งผลจากการทำงานของเส้นประสาทที่ถูกทำลายไปยังปลอกหุ้มประสาท ทำให้เกิดอาการที่ส่งผลต่อการเดินทรงตัว ความรู้สึกชารอบอกและการมองเห็น กัญชาสามารถลดอาการปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis, MS) : MS เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทซึ่งมักเกิดร่วมกับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงและมีอาการปวดแบบเรื้อรัง และพบว่าทั้งผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ THC เพียงชนิดเดียว และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของ THC และ CBD ในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.5 สามารถช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยบรรเทาอาการปวดดังกล่าวและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้
  • โรคมะเร็ง: โรคที่คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักกันดี เป็นอีกโรคที่ควรเฝ้าระวังเพราะเป็นโรคที่สามารถแพร่ได้ตามจุดต่างๆของร่างกายโดยไม่สนใจว่าคุณจะเป็นเพศอะไรหรืออายุเท่าไหร่ ยิ่งตรวจพบเร็วและรักษาได้ถูกทางโอกาสที่อาการจะทุเลาและหายจากโรคยิ่งมีมากขึ้น กัญชาสามารถลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด (Antiemetic effect): ผลการวิจัยทางคลินิกยืนยันว่า กัญชามีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดีกว่ายา Prochlorperazine, Domperidone และ Alizapride ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศแคนาดาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) เป็นต้นมา และมีการทดลองกว่า 45 ที่แล้วค้นพบในห้องทดลองว่าสารสกัดกัญชาลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
  • โรคอื่นๆที่ต้องประคับประคองอาการ: โรคที่แพทย์เห็นสมควรและมีข้อมูลทางวิชาการที่สามารถใช้กัญชาในการบำบัด เพื่อลดความเจ็บปวดในร่างกายจากวิธีธรรมชาติ
  • กัญชาช่วยลดอาการปวด (Analgesic effect) : สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ THC สามารถใช้ลดอาการปวดแบบฉับพลัน และแบบเรื้อรัง (Acute และ Chronic pain) โดยเฉพาะการใช้เพื่อระงับการปวดแบบเรื้อรังนั้น นับเป็นสาเหตุหลักของการใช้สารสกัดกัญชาในการลดอาการปวด ได้มีการทดลองทางคลินิกและพบว่าสาร THC ในขนาด 2.5 หรือ 2.7 มิลลิกรัม สามารถช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง (central neuropathic pain) และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น สามารถช่วยลดอาการปวดข้อรูมอตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเรื้อรัง เช่นมะเร็ง เอดส์ (Appetite stimulation): ผลการวิจัยพบว่าสาร THC สามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วย มีการทดลองใช้ทางคลินิกในประเทศแคนาดาเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ และได้รับการอนุมัติให้ใช้สารสาร THC เพื่อเพิ่มความอยากอาหารได้ในประเทศแคนาดาแล้ว

(อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. (2562). โรค/ภาวะที่น่าจะเป็นประโยชน์จากสารสกัดกัญชา)

sawasdee clinic cannabis medical สวัสดีคลินิกเวชกรรม

กัญชาช่วยอะไรได้: จากตัวอย่างโรคต่างๆที่ควรใช้กัญชาในบทความก่อนหน้าหลายคนอาจสงสัยว่ากัญชาจะช่วยอะไรในการรักษาโรคได้บ้าง เราจึงขอแนะนำส่วนประกอบในใบกัญชาทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

Tetrahydrocannabinoid (THC) : มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลและให้ความรู้สึกมีความสุข THC เป็น psychoactive compound ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกับ cannabinoid receptors ซึ่งพบอยู่ 2 กลุ่มหลักคือ CB1 และ CB2 โดย CB1 จะพบมากที่ (1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nerve system) โดยเฉพาะในส่วน basal ganglia, hippocampus, cerebellum และ cortex ซึ่งสะท้อนกลไกการเกิดผลต่อระบบประสาท ของ THC ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในสารสกัดกัญชา และ (2) ในระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerve system) ในขณะที่ CB2 receptors จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system) ดังนั้นจึงมีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าอาจมี receptors อื่นๆ ที่อาจมาทำหน้าที่เช่นเดียวกับ cannabinoids receptors

-Cannabidiol (CBD) : ไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทแต่ช่วยระงับความเจ็บปวดและปับสมดุลให้แก้ร่างกาย เหมาะแก่การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ และลดความกังวลได้

-Terpenoids (หรือTerpenes) : เป็นสารที่พบมากในน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากใบกัญชา ทำให้เรารับรู้ถึงกลิ่นและรสของกัญชาที่ทำให้ผ่อนคลายและบรรเทาความเครียดและยังเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้การใช้สารสกัดจากกัญชาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การเข้ามาปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มการรักษาจะทำให้เรารักษาโรคได้อย่างปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น         
       
คำแนะนำและอาการข้างเคียง
          มีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้สารกลุ่มนี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้อยู่ระหว่างให้นมบุตร และผู้ป่วยจิตเวช ส่วนการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคความดันควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด

การใช้สารกลุ่ม THC ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ และขนาดยาที่ใช้ โดยควรเริ่มจากขนาดต่ำก่อนและถ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดควรทำช้าๆ ผู้ที่ได้รับสารกลุ่มนี้มักสามารถพัฒนาให้ร่างกายยอมรับผลของยา ดังนั้นจึงควรรักษาขนาดของยาให้คงที่โดยพิจารณาตามผลการรักษาที่ได้รับเป็นหลัก โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ง่วงซึม มึนงง ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดเจน ปากแห้ง วิตกกังวล คลื่นไส้

“Longevity, Naturally”

www.sawasdeeclinic.com

สวัสดีคลีนิกเวชกรรม Sawasdee Clinic

ติดต่อสวัสดีคลีนิกเวชกรรม

➡️02-972-4013

➡️02-972-4014

➡️02-972-3981

➡️093-438-1515

➡️098-824-8121

🏥ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ทุกวัน เวลา 8.00-17.30น.

คลิ้กแอดไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40sawasdeeclinic

Line @sawasdeeclinic

#สวัสดีคลีนิก

สวัสดีคลินิก Thailand’s Leading Medicinal Plant, Medical Cannabis Clinic, คลินิกกัญชา กัญชารักษามะเร็ง คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กัญชารักษาโรค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา คลินิกกัญชาที่ไหนดี ยาสมุนไพรรักษามะเร็ง รักษามะเร็งที่ไหน หมอมะเร็งเก่งๆ CBD THC กัญชานอนไม่หลับ รักษามะเร็งหาย กัญชารักษามะเร็งหายไหม แพทย์หญิงจินตนา คลินิกกัญชาดีดี 

Loading

One Response

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *