ด้วยคุณสมบัติของเซลล์มะเร็ง จะแตกต่างกับเซลล์ปกติคือ มีนิสัยเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ลุกลามและแพร่กระจายทั่วร่างกาย สร้างเส้นเลือดใหม่ ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ / อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด
แพทย์หญิงจินตนาเล่าถึงวิธีการที่สมุนไพรกัญชาเข้าไปช่วยเรื่องนี้คือหยุดการเติบโตของมะเร็ง เรื่องนี้มีมายาวนาน ผลต่อผู้ป่วยมะเร็ง และมีผลการวิจัยสนับสนุนสู้มะเร็งTHC ถูกทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบผลต่อเซลล์มะเร็งมานาน โดยเริ่มมีรายงาน การศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 1975 พบว่า THC สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma ในระดับหลอดทดลองและ ในหนูทดลองที่ได้รับ THC ทางปาก จากทดลองพบว่าสาร cannabinoids มีความสามารถในการยับยั้ง การเติบโตของเซลล์มะเร็ง proliferation, metastasis และ angiogenesis ในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งรังไข่
เเนวทางการรักษาโรคด้วยกัญชาทางการเเพทย์ แพทย์หญิงจินตนา มโนรมย์ภัทรสาร ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
มะเร็งคือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะของการแบ่งเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และเซลล์เหล่านี้ มีความสามารถที่จะลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่ออื่นๆ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเช่น เจริญเติบโตโดยตรงเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียง (Invasion) หรือการอพยพเคลื่อนย้ายเซลล์ไปยังตำแหน่งที่ไกลๆ (Metastasis) การเจริญเติบโตแบบไม่เป็นระเบียบของเซลล์นี้ อาจมีสาเหตุที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือเป็นกรรมพันธุ์ โดยการกลายพันธุ์ของ DNA ภายในเซลล์ มีการทำลายข้อมูลของยีน ซึ่งเป็นตัวกำหนดหน้าที่ของเซลล์ การเคลื่อนย้าย และการควบคุมความปกติของการแบ่งตัวของเซลล์
คุณลักษณะเด่นของเซลล์มะเร็ง (Hallmarks) คือ
1. สามารถรักษาสัญญาณการเจริญเติบโตไว้ตลอด (sustaining proliferative signaling)
2. สามารถหลบเลี่ยงการยับยั้งการเจริญเติบโต (evading growth suppressors)
3. สามารถต้านทานการเกิดเซลล์ตาย (resisting cell apoptosis)
4. สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ที่เป็นอมตะ (enabling replicative immortality)
5. สามารถกระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ (inducing angiogenesis)
6. สามารถลุกลามและกระจายไปอวัยวะอื่นๆ (activating invasion and metastasis)
7. กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ (tumor-promoting inflammation)
8. มีความไม่มั่นคงและการกลายพันธุ์ทางด้านจีโนม (genome instability and mutation)
ปัจจุบัน มีการเพิ่มคุณลักษณะเด่นของเซลล์มะเร็งเข้าไปอีก 2 ประการ คือ
1. การกำหนดโปรแกรมใหม่สำหรับเมตาบอลิซึมของพลังงานภายในเซลล์ (reprogramming energy metabolism)
2. การหลีกเลี่ยงการถูกทำลายจากระบบภูมิคุ้มกัน (evading immune destruction) ดังนั้น หากเซลล์ใดมีคุณสมบัติดัง 10 ประการที่ได้กล่าวแล้วนั้น จัดว่าเป็นเซลล์มะเร็ง
สารสกัด THC สารสำคัญที่สุดในกัญชา ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก แต่มีอาการข้างเคียงต่อจิตประสาทได้
ประโยชน์สารสกัด THC จากกัญชา
- ต้านอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดีกว่ายาแก้คลื่นไส้ อาเจียนหลายชนิด
- ลดอาการชัก
- กระตุ้นความอยากอาหาร
- ลดอาการปวด เกร็ง
- เสริมการผ่อนคลาย นอนหลับ
- ช่วยยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้นในระบบภูมิคุ้มกันจากการทำงานผ่าน CB1 CB2 receptor และช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่อักเสบต่างๆ
ผลต่อผู้ป่วยมะเร็ง และมีผลการวิจัยสนับสนุนสู้มะเร็ง
THC ถูกทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบผลต่อเซลล์มะเร็งมานาน โดยเริ่มมีรายงาน การศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 1975 พบว่า THC สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma ในระดับหลอดทดลองและ ในหนูทดลองที่ได้รับ THC ทางปาก
งานวิจัยในปัจจุบันพบว่าสาร cannabinoids มีความสามารถในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง proliferation, metastasis และ angiogenesis ในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งรังไข่
มีการวิจัยเพิ่มขึ้นในเรื่องดังกล่าวและพบว่าสารหลายชนิดในกลุ่มcannabinoids (THC, CBD) และ endocannabinoids สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆได้โดยการยับยั้งangiogenesisและลดmetastasisในมะเร็งหลายชนิดโดยการกระตุ้นให้เกิดprogram cell death คือทำให้เซลล์มะเร็งตายไปตามวงกร และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกลไกอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้คือการกระตุ้นให้เกิดcell-cycle arrest และ สร้าง สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด antiangiogenic effect ไม่ให้มีอาหารเข้าเซลล์มะเร็ง
“ผมเป็นวิสัญญีแพทย์ (แพทย์เชี่ยวชาญการรักษามะเร็ง หมอมะเร็ง) ในซานฟรานซิสโกเป็นเวลา 36 ปีแล้วและผมกล้าที่จะบอกได้เลยผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ที่ผมดูแลอยู่นั้นเคยใช้กัญชา” ดร. เอบรามส์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 “ทุกๆวัน ผมจะเห็นผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ปวด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล และถ้าผมมียาที่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพิ่มความอยากอาหารลดความเจ็บปวด และ ปรับปรุงการนอนหลับและอารมณ์ ผมคิดว่านั่นเป็นการช่วยคนไข้ที่มีคุณค่า แทนที่จะเขียนใบสั่งยาสำหรับยา 5 6 ชนิดหรือยาเคมีบำบัด ทั้งที่ผมสามารถแนะนำพฤกษศาสตร์ที่ปลอดภัยมากได้” ดร. เอบรามส์จาก UCSF กล่าว
เมื่อใช้อย่างเหมาะสมกัญชาสามารถรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดเรื้อรัง นอนไม่หลับ และคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากเคมีบำบัดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การศึกษาในห้องทดลองแสดงให้เห็นว่า cannabinoids สามารถป้องกันการพัฒนาของอาการปวดจากระบบประสาทซึ่งเป็นผลข้างเคียงของเคมีบำบัดที่พบบ่อยซึ่งสามารถ จำกัดปริมาณคีโมได้ แม้ว่าจะได้รับการบรรเทาอาการมะเร็งแล้ว แต่ผู้ป่วยจำนวนมากยังคงมีอาการปวดประสาทที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมซึ่งอาจเป็นได้อย่างถาวร กัญชาเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วยใจส่วนนี้
การใช้กัญชาลดผลข้างเคียงของการทำคีโม รักษามะเร็ง อย่างได้ผล
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด
สาร Nabilone และ Dronabinol เป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของสาร THC มีผลการวิจัยทางคลินิกยืนยันว่า Nabilone มีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดี และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศแคนาดา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ส่วนสาร Dronabinol มีประสิทธิภาพลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ดี และได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายทั้งในประเทศอเมริกา (ปี พ.ศ. 2528) และในแคนาดา (ปี พ.ศ. 2538)
- เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์
สาร THC ช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ เมื่อมีการทดลองใช้ทางคลินิกเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ และได้รับการอนุมัติให้ใช้สาร Dronabinol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร THC เพื่อเพิ่มความอยากอาหารได้ในประเทศแคนาดาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้
- ลดอาการปวด
สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ THC ช่วยลดอาการปวดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ (Acute และ Chronic pain) ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น ยาในรูปแบบสเปรย์พ่นในปาก (Oromucosal spray, Nabiximols) โดยใช้ส่วนผสมร่วมระหว่าง THC และ CBD ช่วยลดอาการปวดข้อ (Rheumatoid arthritis) ได้ แต่สำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน
“Longevity, Naturally”
www.sawasdeeclinic.com
สวัสดีคลีนิกเวชกรรม Sawasdee Clinic
ปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 029724013
ข้อมูลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์
รวบรวมงานวิจัยต่างประเทศสนับสนุนองค์ความรู้
- Future Aspects for Cannabinoids in Breast Cancer Therapy https://www.mdpi.com/1422-0067/20/7/1673/htm
- The use of cannabinoids as anticancer agents. This study available online since June 2015, will be published by Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry in January 2016.
- Endocannabinoids and Cancer. Published by Handbook of Experimental Pharmacology, in September 2015.
- Anti-tumor effects of marijuana. Updated publications on the website of the National Cancer Institute of the Government of the United States in January 2016.
- The Antitumor Activity of Plant-Derived Non-Psychoactive Cannabinoids. Study published by the Journal of Neuroimmune Pharmacology in June 2015.
- Cannabis in cancer care. Published by Clinical Pharmacology& Therapeutics, in June 2015.
- New Insights into Antimetastatic and Antiangiogenic Effects of Cannabinoids. Study published by International Review of Cell and Molecular Biology in January 2015.
- Cannabinoids as therapeutic agents in cancer: current status and future implications. Study published by Oncotarget in July 2014.
- Preparation and characterisation of biodegradable microparticles filled with THC and their antitumor efficacy on cancer cell lines. Study published in the Journal of Drug Targeting in September 2013.
- A therapeutic target for regulation of cancer growth. Published by Life Science in March 2013.
- CBD Cannabidiol as a potential anticancer drug. Study published in the British Journal of Pharmacology in February 2013.
- Cannabinoids as anticancer modulators. Study published in the Progress in Lipid Research journal in January 2013.
- CBD inhibits angiogenesis by multiple mechanisms. Study published in the British Journal of Pharmacology in November 2012.
- The endocannabinoid system: a therapeutic target for regulating the growth of cancer. Study published in the Life Science journal in October 2012.
- Towards the use of cannabinoids as antitumour agents. Study published in Nature in June 2012.
- Cannabinoid-associated cell death mechanisms in tumor models. Study published in the International Journal of Oncology in May 2012.
- Cannabinoids, endocannabinoids and cancer. Study published in Cancer Metastasis Reviews in December 2011.
- The endocannabinoid system and cancer: therapeutic implication. Study published in the British Journal of Pharmacology in July 2011.
Add a Comment