ร้านกัญชา สวัสดีคลินิก Thailand’s Leading Medicinal Plant, Medical Cannabis Clinic, คลินิกกัญชา กัญชารักษามะเร็ง คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กัญชารักษาโรค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา คลินิกกัญชาที่ไหนดี ยาสมุนไพรรักษามะเร็ง รักษามะเร็งที่ไหน หมอมะเร็งเก่งๆ CBD THC กัญชานอนไม่หลับ รักษามะเร็งหาย กัญชารักษามะเร็งหายไหม แพทย์หญิงจินตนา คลินิกกัญชาดีดี cancer, cannabinoid, cannabis in thailand, cbd, health bangkok, marijuana, medical cannabis, sawasdee clinic, thai clinic, thai herb, thai medicine, thailand cannabis, thc, กรุงเทพ, กัญชง, กัญชา, กัญชาการแพทย์, กัญชารักษามะเร็ง, กัญชารักษาโรค, กัญชาแก้ปวด, คลีนิก, คลีนิกกัญชา, คีโม, นอนไม่หลับ, มะเร็ง, มะเร็งระยะสุดท้าย, มะเร็งลำไส้, ยากัญชา, สมุนไพรไทย, สวัสดีคลีนิกเวชกรรม, สุขภาพผู้หญิง, เคมีบำบัด, เครียด, แพทย์แผนไทย, แพทย์หญิงจินตนา, พาร์กินสัน, ซึมเศร้า

ผลความสำเร็จในการใช้สารสกัดกัญชา THC และ CBD รวมผลงานวิจัยของไทย อย่างครบถ้วน

ผลการวิจัยการใช้สารกัญชา พบว่า

ผลความสำเร็จในการใช้สารสกัดกัญชา THC และ CBD ในอาการสำคัญ อาทิ กลุ่มโรคมะเร็ง โรคลมชัก กลุ่มอาการประสาทและสมอง และสำหรับอาการทางสุขภาพอื่นๆ ในกลุ่มผู้ป่วยไทย

(อัพเดตเมื่อพฤษภาคม 2567)

งานวิจัยผลการใช้น้ำมันกัญชา สารสกัดกัญชา หรือการใช้กัญชาทางการแพทย์ประเภทต่างๆมาจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่หลายศตวรรษก่อน เมื่อมีการศึกษาการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ตะวันตก โดย Dr. William Brooke O’Shaughnessy ในปี 1839 ในอาการกล้ามเนือหดเกร็ง อาการปวด อาการไมเกรน และอื่นๆ หรือ เมื่อศาสตราจาร์ Raphael Mechoulam ค้นพบสารสำคัญ Cannabinoids ต่างๆในกัญชา อันนำมาสู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น

  1. โรคอัลไซเมอร์: ศึกษาแสงสว่างของสาร CBD (Cannabidiol) เชื่อว่ามีศักยภาพในการลดอาการอัลไซเมอร์และความทรงจำที่สั้นลง
  2. โรคมะเร็ง: มีการศึกษาว่าสาร THC (Tetrahydrocannabinol) อาจมีศักยภาพในการลดการเจริญของเซลล์มะเร็ง
  3. อาการชัก: กัญชาได้รับการใช้ในการช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการชัก
  4. อาการอาเจียนและอาการคลื่นไส้
  5. โรคพาร์กินสัน: มีศึกษาแสดงให้เห็นว่ากัญชาอาจช่วยลดอาการสั่น เกร็ง ชัก และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน
  6. ลดความเครียด: กัญชาอาจช่วยรู้สึกผ่อนคลายและช่วยลดอาการเครียด
  7. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง อาทิ สะเก็ดเงิน หรือตุ่ม ผื่นแพ้ทางผิว
  8. โรควิตกกังวล
  9. อาการนอนไม่หลับ
  10. อาการปวดเรื้อรัง

ในที่สุดจึงเกิดความผลักดันทางการวิจัยทางการแพทย์ของประเทศไทย ในการสนับการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยคนไทย

องค์การเภสัชกรรมเผยถึงความสำเร็จในโครงการงานวิจัยน้ำมันกัญชา สารสกัดกัญชาในสูตรต่างๆ ดังนี้

        • ภาวะอาการต่างๆในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หรือ มะเร็งลุกลาม เช่น อาการปวด อาการคลื่นไส้อาเจียน ผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด
        • โรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา 
        • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
        • ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

ผลของการใช้ยาสกัดกัญชาชนิด THC เด่นในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม

ผลศึกษาผลของการใช้ THC เด่นในด้านความปลอดภัย ประสิทธิผล และอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม

โดยใช้ยาสกัดกัญชาเป็นชนิด THC ขนาด 0.5 มก.ต่อวัน และปรับเพิ่มขนาดช้าๆ จนได้ขนาดที่เหมาะสม ติดตามผลการรักษาครบ 30 วัน และได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตด้วย Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)

ประเมินผลการใช้ยาสกัดกัญชาใน 10 อาการ

  • อาการปวด
  • เหนื่อย/ อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้
  • ซึมเศร้า
  • วิตกกังวล
  • ง่วงซึม
  • เบื่ออาหาร
  • ความไม่สบายกายและใจ
  • เหนื่อยหอบ
  • การนอนหลับ

มะเร็งที่พบมากที่สุดคือมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้น (ร้อยละ 65.1) การลดความเจ็บปวด (ร้อยละ 50.8) และ ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 42.9)

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงพบได้ร้อยละ 19.1 ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ปาก แห้ง/ คอแห้ง (ร้อยละ 17.5) คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 1.6) และ เวียนศีรษะ (ร้อยละ 1.6)

ลิ้งสู่งานวิจัย กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

จากนโยบายกัญชาทางการแพทย์พื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย กรมการแพทย์เป็นหน่วยงานหลักการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ป่วยและครอบครัวมีความเชื่อมั่นในการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สำหรับในปีงบประมาณ 2566 กรมการแพทย์ได้ดำเนินการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดกัญชาต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ส่วนงานวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการได้แก่ การศึกษาวิจัยในกลุ่มโรคมะเร็ง/ผู้ป่วยแบบประคับประคอง กลุ่มโรคผิวหนัง กลุ่มโรคทางระบบประสาท และผลิตภัณฑ์จากกัญชา (อาหารเสริม/เครื่องสำอาง)

หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์มีการนำสารสกัดกัญชามาศึกษาวิจัยทางการแพทย์ ดังนี้

การศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

มีการใช้สารสกัดกัญชา CBD สูง ในการลดการเกร็ง ซึ่งสถาบันประสาทวิทยากำลังดำเนินการวิจัยอยู่ โดยเบื้องต้นมีผู้เข้าร่วมวิจัย 21 คน ใช้สารสกัดกัญชา CBD สูง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า คุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรืออักเสบ (MS) ด้วย THC ต่อ CBD 1 ต่อ 1 ซึ่งตีพิมพ์วารสารวิชาการไปแล้วว่า มีประโยชน์ ช่วยลดอาการเจ็บ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กำลังเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรบัญชี

ผลการรักษาและความปลอดภัยของการใช้น้ำมันกัญชาสกัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน โรงพยาบาลสกลนคร

จากการศึกษาของ กิตติพศ ทัศนบรรยง (2563)

ทำการศึกษาในผู้ป่วยพาร์กินสันที่เข้ารับการรักษาในคลินิกพาร์กินสัน โรงพยาบาลสกลนคร ที่ได้รับการรักษาโดยใช้น้ำมันกัญชาเพิ่มเติมจากยาพากินสันมาตรฐานที่ใช้เดิม เปรียบเทียบผลการรักษาจากอาการและความรุนแรงของโรคพาร์กินสันโดยใช้ UPDRS ติดตามและประเมินผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ด้านการเคลื่อนไหว การนอนหลับ การสั่นเกร็ง วัดคุณภาพการนอนหลับโดยPDSS-2 วัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยพาร์กินสันโดย PDQ8 วัดความจำ TMSE ก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยกัญชา 3 เดือน โดยการเพิ่มขนาดช้า ๆ ให้สารสกัดจากกัญชาในเวลาก่อนนอน วัดผลในสัปดาห์ที่ 0,2,4,8,12มีผู้ป่วยเข้าร่วมวิจัย 16 คน ผลการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา

พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีอาการของโรคพาร์กินสันที่ลดลงทั้ง 16 ราย อาการโดยรวมของโรคพาร์กินสันดีขึ้น จากผลการวิจัยการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชาขององค์การเภสัชสูตร THC:CBD (1:1) GPO เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน พบว่าประสิทธิภาพทางยาสารสกัดน้ำมันกัญชา THC:CBD (1:1) สามารถบรรเทาอาการโรคพาร์กินสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และเพิ่มคุณภาพการนอนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก(clinical significance) และมีนัยสำคัญทางสถิติ ความปลอดภัยและผลข้างเคียงน้ำมันกัญชาเมื่อติดตามผล
หลังการรักษา 3 เดือนในประมาณ 3-5 หยดต่อวัน พบว่ามีความปลอดภัยไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต

มะเร็ง

สถาบันมะเร็งแห่งชาติมี 2 ส่วน คือ 1.การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง 2.การใช้รักษาตัวโรคมะเร็ง โดยการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ลดอาการไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ได้มุ่งผลการรักษาต่อก้อนมะเร็งโดยตรง ซึ่งสถาบันมะเร็งมีคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ เป็นการดูแลร่วมกันระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยผู้ป่วยมะเร็งประคับประคองคุณภาพชีวิตดีขึ้น 58%

ส่วนการรักษาต่อโรคมะเร็งอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในหลอดทดลองกับสารสกัดกัญชาโดยพบว่ายับยั้งได้ดีในเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งเต้านม จึงมีการนำมาศึกษาต่อโดยปลูกถ่ายในหนูทดลองและทำการทดลองตามมาตรฐาน ทั้งกลุ่มยาหลอก เทียบกับยาเคมีบำบัดในปัจจุบัน และเทียบกับกัญชาในขนาดต่ำ ขนาดกลาง และขนาดสูง ผลที่ได้คือ สารสกัดกัญชาสามารถลดการเพิ่มของจำนวนเซลล์มะเร็ง และเพิ่มการตายแบบ Apoptosis หรือการตายไม่อันตรายต่อตัวคน ได้ผลดีต่อเซลล์มะเร็งเต้านม และไม่มีผลข้างเคียงต่ออาหาร น้ำหนักตัว หรือเลือด นับว่าเป็นก้าวสำคัญที่หลังจากนี้ จะสามารถแปลงขนาดยาไปสู่การทดลองวิจัยทางคลินิก หรือในมนุษย์ต่อไปตามมาตรฐานทางการแพทย์

อาการลมชัก ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โดยสถาบันประสาทวิทยา

สถาบันประสาทวิทยา และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ติดตามประสิทธิผลการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา GPO CBD เด่น ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักรักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (intractable epilepsy) 16 ราย ผลการศึกษาพบว่าสามารถควบคุมอาการชักในผู้ป่วย 10 ราย (62%) และผลการประเมินของผู้ดูแลคิดว่าอาการชักดีขึ้น โดยมีคะแนนประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 คะแนนจากคะแนนเต็ม 7 คะแนน

สถาบันประสาทวิทยายังได้ติดตามประสิทธิผลการใช้ GPO THC:CBD (1:1) ในการรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน จำนวน 7 ราย จากการประเมินโดยแพทย์มีผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นจำนวน 5 ราย ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินโดยผู้ป่วยว่าอาการเกร็งและอาการปวดดีขึ้นหลังได้รับสารสกัดกัญชา โดยมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน

การบำบัดการติดยาเสพติด

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี(สบยช.) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติความชุกการใช้ยาเสพติด ยังพบมากคือ ยาบ้า ซึ่งสบยช. มีการศึกษาวิจัยนำสารสกัด CBD มาใช้ในการบำบัดรักษาและลดอันตรายในผู้ป่วยยาบ้า ที่มีอาการทางจิต และมีพฤติกรรมเสี่ยงก่อความรุนแรง (SMI-V) โดยเป็นการวิจัยนำสารสกัด CBD ชนิดหยอดใต้ลิ้น มาใช้ร่วมกับยาต้านอาการทางจิตเวช เพื่อช่วยลดอาการทางจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงก่อความรุนแรง แบ่งการทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใช้ยาจิตเวชร่วมกับสารสกัดกัญชา และกลุ่มที่ใช้ยาจิตเวชร่วมกับยาหลอก โดยจะวัดผลการรักษา ทั้งอาการทางเจิตเวช ระหว่างรักษา อาการอยากยาระหว่างรักษา พฤติกรรมเสี่ยงก่อความรุนแรง และการเสพซ้ำ ต้องมีการติดตามต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาสารสกัดกัญชาเปรียบเทียบกับยาทดแทน (Methylphenidate) เพื่อลดอาการถอนยา และอาการอยากยา โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่มเพื่อเปรียบเทียบกันเรื่องอาการถอนยา อาการอยากยา และติดตามต่อไปในเรื่องการไปเสพซ้ำ หากได้ผลแล้วจะนำไปวิจัยต่อยอดในการนำสารสกัดกัญชา CBD มาใช้ทดแทนเมทแอมเฟตามีนตามแนวทางลดอันตรายจากการใช้ยา เพราะเห็นฤทธิ์ CBD ซึ่งไม่ใช่ยาเสพติด แต่ช่วยผ่อนคลาย ซึ่งคนไข้ใช้ยาบ้าจะมีอาการทางระบบประสาท อย่างไรก็ตาม การใช้ตรงนี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำการใช้ตามหลักอย่างถูกต้อง

โรคและอาการทางผิวหนัง

สถาบันโรคผิวหนัง ได้ศึกษาการใช้สาร CBD พบว่ามีสรรพคุณเด่น 3 ด้าน คือ 1. ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ 2. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และ 3. ปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน ซึ่งสถาบันฯ กำหนดการรักษา 2 ด้าน คือ รักษาโรคผิวหนัง และเวชสำอาง โดยการรักษาโรคผิวหนัง มีการศึกษาวิจัยอยู่ 4 โรค คือ โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ ผมร่วง โดยเฉพาะผมร่วงเป็นวง และสิว ซึ่งเกี่ยวกับการอักเสบค่อนข้างเยอะ โดยขณะนี้กำลังศึกษาวิจัย คาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง เนื่องจากวิจัยในฐานะแพทย์แผนปัจจุบัน จึงใช้ขั้นตอนมากในเรื่องของเวชสำอางนั้น ทางสถาบันโรคผิวหนัง ได้ค้นคว้าวิจัยสูตรเวชสำอางต้นแบบมาแล้ว 18 สูตรตำรับในระยะเวลา 2-3 ปี ซึ่งมีการพัฒนาปรับระดับการใช้เทคโนโลยีให้สูงขึ้น ซึ่งเราเห็นฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) ที่ได้ผลและใช้โดสค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ยังมีการใช้นาโนเทคโนโลยี (Nanoencapsulation) เข้ามาช่วยในการละลายความคงตัวของตำรับ

     ผลิตภัณฑ์สารสกัดน้ำมันกัญชาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับใช้ทางการแพทย์ภายใต้กฎหมายควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งต้องมีความระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะสาร THC (delta-9-tetrahydrocannabinol) ที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท การใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  ใช้สารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ อย่างไร ? ไม่อันตราย

          • ต้องรู้ตัวเองก่อนว่าจำเป็นต้องใช้สารสกัดกัญชาหรือไม่ หากการรักษาปัจจุบันยังได้ผลดี 

          • มีโรคหรืออาการในกลุ่มโรคที่กำหนดให้ใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์หรือไม่ ?

          • ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมินความจำเป็นในการใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาในสูตรตำรับที่ตรงกับโรค และอาการของผู้ป่วย

          • ไม่มีขนาดยาเริ่มต้นที่แน่นอนในผลิตภัณฑ์กัญชาแต่ละชนิด ขนาดยาที่เหมาะสมขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคน  และปรับตามแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังนั้น ควรเริ่มที่ขนาดต่ำและปรับเพิ่มขนาดช้าๆจนได้ขนาดยาเหมาะสมที่ให้ผล การรักษาสูงสุดและเกิดผลข้างเคียงต่ำสุด

 โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง สับสน มึนงง ปวดศีรษะ ใจสั่น และคลื่นไส้อาเจียน

ติดต่อสวัสดีคลีนิกเวชกรรม

➡️02-972-4013

➡️02-972-4014

➡️02-972-3981

➡️093-438-1515

➡️098-824-8121

🏥ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ทุกวัน เวลา 8.00-17.30น.

คลิ้กแอดไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40sawasdeeclinic

Line @sawasdeeclinic

#สวัสดีคลีนิก

สวัสดีคลินิก Thailand’s Leading Medicinal Plant, Medical Cannabis Clinic, คลินิกกัญชา กัญชารักษามะเร็ง คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กัญชารักษาโรค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา คลินิกกัญชาที่ไหนดี ยาสมุนไพรรักษามะเร็ง รักษามะเร็งที่ไหน หมอมะเร็งเก่งๆ CBD THC กัญชานอนไม่หลับ รักษามะเร็งหาย กัญชารักษามะเร็งหายไหม แพทย์หญิงจินตนา คลินิกกัญชาดีดี 

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *