ยากัญชาตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

       ประเทศไทยมีการใช้กัญชามาอย่างยาวนานดังปรากฏในตำราพระโอสถพระนารายณ์ และตามจิตกรรมฝาผนัง มีการสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย โดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทต้มแกงต่างๆ ใช้เพื่อการนันทนาการ และรักษาโรค 

สวัสดีคลีนิก กัญชาทางการแพทย์ กัญชารักษาโรค กัญชารักษามะเร็ง

สถานการณ์การใช้กัญชาตามองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เสพเพื่อการรักษาโรค 5 ประเภท

  1. ตำรับยาแผนปัจจุบันและแผนไทยที่ได้รับการรับรองจาก อย.
  2. ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาผสมปรุงอยู่ ตามคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ปัจจุบันมี16 ตำรับ)
  3. ตำรับยาที่อนุญาตให้ผลิตในประเทศไทย ภายใต้การรักษาโรคตามกรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (Special Access Scheme )
  4. ตำรับยาที่ได้รับอนุญาตภายใต้โครงการวิจัยที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
  5. ตำรับยาหมอพื้นบ้านที่ปรุงขึ้นจากองค์ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจน และได้รับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ทั้งนี้วัตถุดิบจากกัญชาต้องไม่สามารถแยกเป็น ดอก ใบ เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด

      ปัจจุบันกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีการวางแผนเพื่อศึกษาวิจัยแบบ Actual Use Research (AUR) แต่อย่างไรก็ตามก่อนทำ AUR ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯต้องทำข้อมูลยาที่ชัดเจน

องค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย

       ในทางการแพทย์แผนไทยกัญชาเป็นเครื่องยาชนิดหนึ่งที่มาปรุงให้คนไข้รับประทานเป็นยารักษาโรค ในความรู้ทางการแพทย์แผนไทยนั้นไม่มีการใช้กัญชาเป็นตัวยาเดี่ยว รสยาของกัญชายังมีความเห็นไม่ตรงกันของแพทย์แผนไทยว่า เป็นรสเมาเบื่อ เบื่อเมาหรือเมากันแน่ แต่มีองค์ความรู้ที่ตรงกันคือ กัญชาเป็นยาที่แก้ มุฏฐานวาตะ เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการทางลม เส้นประสาท เป็นต้น

การใช้กัญชากับมะเร็ง

       กัญชาไม่ได้เป็นยารักษามะเร็งตามองค์ความรู้ดั้งเดิม แต่จะใช้เป็นยาล้อมในฝีมะเร็งร้าย โดยอาจจะใช้เป็นดอกกัญชาหรือทั้งห้า (ราก ต้น ใบ ดอก ผล) โดยนำมาผสมกับตัวยาอื่นๆ ใช้เป็นยาต้ม หรือยาผง หรือบางครั้งก็นำดอกกัญชามาต้มเป็นกระสายยารับประทานไปพร้อมกับยา กัญชายังถูกนำไปผสมรวมกับว่านหางจระเข้ ใบทุเรียนเทศ พิกัดยาเบญจกูล พิกัดยาตรีผลา เหง้าขมิ้น บอระเพ็ด ฯลฯ ใช้เป็นยาตำรับล้อมฝีมะเร็ง

ข้อสรุป

       แพทย์แผนไทยหลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า กัญชาที่ใส่ในตำรับยาแผนไทย จะช่วยเรื่องคุณภาพชีวิต คือเสริมฤทธิ์ยาอื่น ทำให้กินข้าวได้ นอนหลับ เนื่องจากตำรับส่วนใหญ่ใส่ปริมาณไม่มาก มีการใช้ในโรคพาร์กินสัน ร่วมกับตำรับยาอื่น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาไม่มาก จึงได้สืบค้นข้อมูลองค์ความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ดั้งเดิมอื่นๆ มาประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้กัญชาตามองค์ความรู้ทางการแพทย์ดั้งเดิม อันจะทำให้เกิดความเข้าใจเพื่อนำไปพัฒนา

16 ตำรับยาไทย ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมและได้รับประกาศใช้ 

  1. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ บรรเทาอาการเจ็บปวดท้องแข็ง กินอาหารไม่ได้ มะเร็งช่องท้อง
  2. ยาอัคคินีวคณะ แก้คลื่นเหียนอาเจียน เจริญอาหาร บำรุงกำลัง
  3. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง บรรเทาอาการปวดศีรษะ ตาแดง หูตาฝ้าฟาง
  4. ยาศุขไสยาศน์ ช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร
  5. ยาไฟอาวุธ แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง
  6. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย แก้อาการตึงบริเวณปลายมือปลายเท้า 
  7. ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง บรรเทาอาการท้องผูก ปวดเมื่อย
  8. ยาแก้นอนไม่หลับ / ยาแก้ไขผอมเหลือง แก้นอนไม่หลับ แก้ไขผอมเหลือง 
  9. ยาแก้โรคจิต ลดความกังวล ความเครียด โรคจิต ตามตำราแผนไทย
  10. ยาอัมฤตโอสถ บรรเทาอาการตึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น จากความเสื่อมของร่างกาย
  11. ยาไพสาลี บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม ช่วยให้หลับสบาย
  12. ยาอไภยสาลี ช่วยขับลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ
  13. ยาทำลายพระสุเมรุ บรรเทาอาการแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต
  14. ยาแก้ลมแก้เส้น บรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ อ่อนกำลัง
  15. ยาทัพยาธิคุณ แก้จุกเสียดท้องแข็งเป็นเถาดาน อาการอัมพฤกษ์ ปวดเมื่อยร่างกาย
  16. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง ทารักษาริดสีดวงทวารหนัก และทารักษาโรคผิวหนัง

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *