กัญชา ต้านมะเร็ง

กระทรวงสาธารณสุขไทยยืนยันกัญชาต้านเซลล์มะเร็งได้

วันนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เตรียมทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองหรือระดับคลินิก(26 พ.ย.2564)

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง

สารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทยมาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง 7 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งสมอง และมะเร็งตับอ่อน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยสนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งพืชกัญชาที่พบมีหลากหลายพันธุ์ โดยแต่ละพันธุ์มีสัดส่วนสารสำคัญแตกต่างกัน

สารสำคัญในกัญชา ได้แก่ สาร THC และ CBD จัดอยู่ในกลุ่มสารแคนนาบินอยด์นอกจากนี้ ยังพบว่ากัญชามีสารออกฤทธิ์อื่นอีก เช่น กลุ่มฟลาโวนอยด์ เทอร์ปีนอยด์ อัลคาลอยด์ สเตียรอยด์ อัลเคน กรดไขมัน และน้ำตาล ซึ่งมีสัดส่วนของปริมาณสารแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

ทั้งนี้สาร THC และสารอนุพันธ์ของ THC มีคุณสมบัติทางยาที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์แก้ปวด โดยเฉพาะปวดจากโรคทางระบบประสาท กระตุ้นความอยากอาหารและลดอาการคลื่นไส้จากการใช้เคมีบำบัด ช่วยปกป้องและกระตุ้นการสร้างเซลล์สมอง

ส่วนสาร CBD มีฤทธิ์บรรเทาอาการลมชัก ลดอาการวิตกกังวลช่วยให้นอนหลับได้ดี

กัญชาถูกใช้เพื่อการรักษาโรคมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว


ส่วนประกอบทางเคมีของกัญชาที่เรียกว่า cannabinoids กระตุ้นตัวรับเฉพาะทั่วร่างกายเพื่อสร้างผลทางเภสัชวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบประสาทส่วนกลางและระบบภูมิคุ้มกัน

ในสหรัฐอเมริกา ตัวยาจากกัญชาชื่อ dronabinol และ nabilone ที่มีสารสำคัญ cannabinoids เป็นยาที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการรักษาผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง


สารแคนนาบินอยด์อาจมีประโยชน์ในการรักษาผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

สารแคนนาบินอยด์จากกัญชา เกิดผลต้านเนื้องอก มะเร็ง หรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายโดยกลไกต่างๆ รวมถึงการชักนำให้เซลล์มะเร็งตาย การยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และการยับยั้งการบุกรุกและการแพร่กระจายของเนื้องอก

การศึกษาระดับโมเลกุลของการออกฤทธิ์ของสารแคนนาบินอยด์ในฐานะสารต้านเนื้องอก สารแคนนาบินอยด์ฆ่าเซลล์เนื้องอก

Cannabinoids may cause antitumor effects by various mechanisms, including induction of cell death, inhibition of cell growth, and inhibition of tumor angiogenesis invasion and metastasis. Two reviews summarize the molecular mechanisms of action of cannabinoids as antitumor agents. Cannabinoids appear to kill tumor cells but do not affect their nontransformed counterparts and may even protect them from cell death. For example, these compounds have been shown to induce apoptosis in glioma cells in culture and induce regression of glioma tumors in mice and rats, while they protect normal glial cells of astroglial and oligodendroglial lineages from apoptosis mediated by the CB1 receptor.

อ้างอิง

  1. Adams IB, Martin BR: Cannabis: pharmacology and toxicology in animals and humans. Addiction 91 (11): 1585-614, 1996. [PUBMED Abstract]
  2. Abrams DI: Integrating cannabis into clinical cancer care. Curr Oncol 23 (2): S8-S14, 2016. [PUBMED Abstract]
  3. Doblin RE, Kleiman MA: Marijuana as antiemetic medicine: a survey of oncologists’ experiences and attitudes. J Clin Oncol 9 (7): 1314-9, 1991. [PUBMED Abstract]
  4. Sallan SE, Cronin C, Zelen M, et al.: Antiemetics in patients receiving chemotherapy for cancer: a randomized comparison of delta-9-tetrahydrocannabinol and prochlorperazine. N Engl J Med 302 (3): 135-8, 1980. [PUBMED Abstract]

ติดต่อสวัสดีคลินิกเวชกรรม Sawasdee Clinic เวลาทำการ 8.00-17.30 น.

เพื่อปรึกษาแพทย์

093-438-1515

098-824-8121

02-972-4013

02-972-4014

หรือ คลิ้กแอดไลน์ (@SawasdeeClinic) https://line.me/R/ti/p/%40sawasdeeclinic

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *