กำลังเป็นประเด็นร้อนในสังคมไทย ถกหน้าดำคร่ำเครียดถึงผลดีผลร้ายของการปลดล็อก “กัญชาเสรี” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้เข้าประเทศ หลังผ่านฉลุยรับรองกฎหมายใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เปิดทางให้สามารถศึกษาวิจัยและปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องหลบๆซ่อนๆอยู่ใต้ดิน ในฐานะผู้คร่ำหวอดในวงการวิจัยและพัฒนาสารสกัดกัญชาเพื่อการแพทย์ “นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หญิง จินตนา มโนรมย์ภัทรสาร” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ยืนกรานว่า “กัญชา” ไม่ใช่พืชร้ายอย่างที่คนไทยหวาดกลัวกัน แต่อันที่จริงคือสมุนไพรทางเลือกที่มีคุณูปการอย่างสูงต่อวงการแพทย์ไทย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, โรคลมชัก และพาร์กินสัน นี่คือยาวิเศษที่ฟ้าประทาน
“เมื่อหลายปีก่อนได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมาก หลังจากหมอได้รับมอบหมายให้เป็นประธานองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีหน้าที่ประคับประคองดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งมีผู้ป่วยในอยู่เป็นร้อยเตียง ผู้ป่วยนอกไปกลับทุกวันเกือบ 1,000 คน คนไข้เหล่านี้ต้องถูกพิพากษาตั้งแต่วันแรกที่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ต้องผ่านขั้นตอนการรักษา ทั้งผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้ง, ทำคีโม และฉายแสง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง ต้องคลื่นไส้อาเจียนกินไม่ได้, เลือดออก, โคม่าไม่รู้สึกตัว หลายคนเป็นทุกข์ทั้งทุกข์กายทุกข์ใจ และทุกข์กระเป๋า ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเห็นใจมาก ในฐานะหมอไม่ว่าจะมีทางเลือกไหนที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้พวกเขาได้ผ่านช่วงเวลาทรมานที่สุด อ่อนไหวอ่อนแอ และเปราะบางที่สุดไปได้อย่างมีคุณภาพที่สุด หมอก็ยินดีจะทำเพื่อคนไข้เหล่านี้ หมอคิดตลอดว่าถ้าเราเจอวิธีไหนที่สามารถดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายได้นุ่มนวลกว่าที่เคยเป็น ทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาสุดท้ายอย่างมีคุณภาพ ทนทุกข์ทรมานน้อยที่สุด หมอก็จะทุ่มเทกำลังและสติปัญญา เพื่อขวนขวายหาทางช่วยคนไข้”…“หมอต้อย” เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เบนเข็มมาสู่การวิจัยและพัฒนาสารสกัดกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างจริงจัง
จากผู้เชี่ยวชาญการฝังเข็มและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผันตัวมาสู่การวิจัยเรื่องกัญชาได้อย่างไร
เมื่อ 3 ปีก่อน หมอเข้าอบรมความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์โดยบังเอิญ เจอปั๊บปิ๊งไอเดียทันที รู้เลยว่านี่คือสิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้คนไข้ของเราได้
อะไรทำให้มอง “กัญชา” มิติใหม่ เปลี่ยนจากสิ่งเสพติด มาเป็นยารักษาโรคขนานเอก
(อ้างอิงจาก https://www.thairath.co.th/news/society/1515120)
Add a Comment