กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นกลุ่มสารที่พบในพืชกัญชามีสารอยู่หลายชนิด ชนิดที่มีข้อมูลใช้ทางการแพทย์มากมีสองชนิดคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD)
Tetrahydrocannabinol (THC)
สาร THC ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ แต่หากได้รับในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น
สาร CBD
สาร CBD เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มและอาการทางจิตของ THC มีการศึกษาใช้สาร CBD เพื่อควบคุมอาการชักและอาการปวด สาร CBD ยังไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อหรือติด
มีงานวิจัยที่ยืนยันผลทางการแพทย์ของกัญชาต่อการผ่อนคลายความวิตกกังวล รักษาอาการของโรคจิตประสาท ป้องกันการเสื่อมหรือตายของเซลล์ประสาท ต้านอาการอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง Food and Drug Administration (องค์การอาหารและยาของอเมริกา) อนุมัติให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ เพื่อรักษาการคลื่นไส้อาเจียนอันเป็นผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งแบบคีโม และภาวะน้ำหนักตัวลดลงและอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยโรคเอดส์ [มะเร็งระยะสุดท้าย] โดยต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ประเทศออสเตรเลียจะเพิ่มให้ใช้กรณีควบคุมอาการปวดเรื้อรัง รักษาอาการปวดจากโรค MS ลดปวดและคลื่นไส้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
กัญชาทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
โดยแพทย์สภา Medical Council of Thailand
การปรับขนาดยาของผลิตภัณฑ์กัญชาฯ ในการรักษาอาการปวดหรือโรคลมชัก
- ในการรักษาอาการปวดรุนแรงที่ดื้อต่อการรักษา แพทย์อาจให้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่เน้น CBD โดยเริ่มที่ 5 มก. ของ
CBD วันละ 2 ครั้ง หากยังไม่ได้ผลก็ค่อย ๆ ปรับขนาดยาของ CBD ขึ้นจนถึง 40 มก. ต่อวัน และหากยังไม่ได้ผลอีกจึงควรเริ่มให้ THC 2.5 มก. ต่อวัน - ในการรักษาโรคลมชักที่ดื้อยาขนานอื่น แพทย์อาจเริ่มให้CBD ขนาด 5 มก.ต่อ กก. ต่อวัน, ค่อยๆ ปรับขนาด
เพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยยังทนผลข้างเคียงของ CBD ได้และยังคุมอาการชักไม่ได้ ให้เพิ่มขนาดขึ้นทุกสัปดาห์จนถึง 50 มก.ต่อ กก. ต่อวัน รวมทั้งแพทย์อาจลดขนาดยากันชักขนานอื่นเพื่อลดผลข้างเคียงของยาขนานอื่นด้วย
แม้ว่าจะปรับขนาด CBD อย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยหลายรายก็ไม่หายสนิทจากโรคลมชัก
วิธีการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคมะเร็งระยะท้าย
มะเร็งเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของยีนในเซลล์ปกตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งโดยจะแพร่กระจายไปตามเนื้อเยื่อลุกลาม
ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่มะเร็งลุกลามไปทั่วและเกิดความเจ็บปวดหลักจากที่ใช้ยาแก้ปวดขนานอื่น เช่น มอร์ฟีน และยังได้ผลไม่ดี หรือ มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ อาจเริ่มใช้สาร หรือ น้ำมันกัญชาได้ดังนี้
- เริ่มใช้ CBD ในขนาดเริ่มต้น คือ 5 มก. วันละ 2 ครั้งร่วมด้วย
- หากยังปวด ให้เพิ่มขนาด CBD ครั้งละ 10 มก. ต่อวัน ห่างกัน 2-3 วันต่อครั้ง จนถึงขนาด 40 มก. ต่อวัน
การใช้ CBD นำเพราะ มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์
เมื่อขนาด CBD เต็มที่แล้ว อาการปวดยังไม่ทุเลา
- ให้เพิ่ม THC ในขนาดสัดส่วน 1:10 (THC:CBD) เช่น หากใช้ CBD 40 มก อยู่แล้วให้ใช้ THC 4 มก. ต่อวัน
- เพิ่ม THC ครั้งละ 2.5 มก. ต่อวัน และสามารถเพิ่มขนาด THC ได้วันละ 2.5 มก. ทุก 2 ถึง 7 วัน จนกว่าจะได้ขนาดของ THC เท่ากับ 40 มก. ต่อวันซึ่งเป็นขนาดสูงสุด
ทั้งนี้ การปรับขนาดของ THC และ CBD จะเป็นไปตามประสิทธิผลของการบรรเทาปวดของแต่ละคนที่ใช้ขนาดไม่เท่ากัน จึงต้องปรับขนาดเป็นระยะๆ จนได้ขนาดที่เหมาะสม ในแต่ละราย สามารถแบ่งให้ยาวันละ 2-4 ครั้ง
Add a Comment