ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer)
เป็นตัวบ่งบอกการลุกลาม ความรุนแรง ของโรคมะเร็ง การที่แพทย์ทราบระยะของโรคแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาและพยากรณ์โรคได้
ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4
การดูแลเริ่มจากที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งผู้ป่วยอยู่ในระยะท้าย โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนั้นๆ โดยตระหนักถึงสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อต้องการ รวมทั้งการให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนและมีส่วนในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ตามหลักความเป็นจริง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักมีความเครียดและวิตกกังวลสูง ทั้งต่อตัวคนไข้และครอบครัว เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ต้องเผชิญกับผลของการรักษาและอาการข้างเคียงจากการรักษา รวมถึงต้องปรับตัวกับสภาวะของโรคที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมะเร็งนอกจากจะมีความทุกข์ทรมาน จากอาการของโรคแล้ว มักขาดขวัญกำลังใจ ท้อแท้ เบื่อหน่ายและสิ้นหวังได้
อาการที่พบได้บ่อย อาทิ
อ่อนเพลียอ่อนแอและต้องการนอน: ผู้ป่วยมะเร็งอาจอ่อนแอลงมากและอ่อนเพลียง่ายขึ้น พวกเขาอาจต้องการนอนหลับบ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนเตียง
การสูญเสียความกระหาย: พวกเขาอาจสูญเสียความอยากอาหารมากหรือมีปัญหาในการกินและดื่ม
อาการปวดรุนแรง : ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย พบได้ถึง 70% และยังพบได้ในทุกระยะของโรค หรือเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ โดยการรักษาสามารถบรรเทาปวดโดยผลข้างเคียงน้อยและผู้ป่วยดำรงอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตพอสมควร
สาเหตุของความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
- จากมะเร็งโดยตรง มีการแพร่กระจาย (metastases) เช่น ไปที่กระดูก ซึ่งพบบ่อยที่สุด ทำให้มีความปวดจากการทำลายเนื้อกระดูก หรือทำให้มีกระดูกอ่อนตัวยุบลงและหัก , มะเร็งลุกลามโดยตรงไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ , มะเร็งกระจายลุกลามไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรือมะเร็งของอวัยวะภายใน
- จากการรักษามะเร็ง เช่น จากการผ่าตัดเต้านม mastectomy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม , thoracotomy , การตัดขา (amputation) อาจทำให้ปวดขาหลังตัดขา (phantom limb pain) จากการให้เคมีบำบัด หรือการให้รังสีรักษา ซึ่งทำให้มีผังผืดไปล้อมข่ายประสาท
- ความปวดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อาจเกิดมีแผลกดทับ มีความวิตกกังวล ปวดศีรษะจากเครียด (tension headache) , ซึมเศร้า , ภาวะท้องผูก , ปวดกล้ามเนื้อ (myofascial pain)
การใช้กัญชาลดผลข้างเคียงของการทำคีโม รักษามะเร็ง อย่างได้ผล
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด
สาร Nabilone และ Dronabinol เป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของสาร THC มีผลการวิจัยทางคลินิกยืนยันว่า Nabilone มีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดี และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศแคนาดา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ส่วนสาร Dronabinol มีประสิทธิภาพลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ดี และได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายทั้งในประเทศอเมริกา (ปี พ.ศ. 2528) และในแคนาดา (ปี พ.ศ. 2538)
- เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์
สาร THC ช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ เมื่อมีการทดลองใช้ทางคลินิกเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ และได้รับการอนุมัติให้ใช้สาร Dronabinol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร THC เพื่อเพิ่มความอยากอาหารได้ในประเทศแคนาดาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้
- ลดอาการปวด
สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ THC ช่วยลดอาการปวดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ (Acute และ Chronic pain) ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น ยาในรูปแบบสเปรย์พ่นในปาก (Oromucosal spray, Nabiximols) โดยใช้ส่วนผสมร่วมระหว่าง THC และ CBD ช่วยลดอาการปวดข้อ (Rheumatoid arthritis) ได้ แต่สำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน
สารสกัด THC สารสำคัญที่สุดในกัญชา ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก
ประโยชน์สารสกัด THC จากกัญชา
- ต้านอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดีกว่ายาแก้คลื่นไส้ อาเจียนหลายชนิด
- ลดอาการชัก
- กระตุ้นความอยากอาหาร
- ลดอาการปวด เกร็ง
- เสริมการผ่อนคลาย นอนหลับ
- ช่วยยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้นในระบบภูมิคุ้มกันจากการทำงานผ่าน CB1 CB2 receptor และช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่อักเสบต่างๆ
ผลต่อผู้ป่วยมะเร็ง และมีผลการวิจัยสนับสนุนสู้มะเร็ง
THC ถูกทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบผลต่อเซลล์มะเร็งมานาน โดยเริ่มมีรายงาน การศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 1975 พบว่า THC สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma ในระดับหลอดทดลองและ ในหนูทดลองที่ได้รับ THC ทางปาก
งานวิจัยในปัจจุบันพบว่าสาร cannabinoids มีความสามารถในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง proliferation, metastasis และ angiogenesis ในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งรังไข่
มีการวิจัยเพิ่มขึ้นในเรื่องดังกล่าวและพบว่าสารหลายชนิดในกลุ่มcannabinoids (THC, CBD) และ endocannabinoids สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆได้โดยการยับยั้งangiogenesisและลดmetastasisในมะเร็งหลายชนิดโดยการกระตุ้นให้เกิดprogram cell death คือทำให้เซลล์มะเร็งตายไปตามวงกร และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกลไกอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้คือการกระตุ้นให้เกิดcell-cycle arrest และ สร้าง สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด antiangiogenic effect ไม่ให้มีอาหารเข้าเซลล์มะเร็ง
“Longevity, Naturally”
www.sawasdeeclinic.com
สวัสดีคลีนิกเวชกรรม Sawasdee Clinic
ปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 029724013
Add a Comment