มะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไข้ติดอันดับมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุดอันดับต้นๆ มาตลอดกาล เนื่องจากอาหาร มลภาวะ และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของชีวิตยุคใหม่
ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคือ ลำไส้ใหญ่ที่อยู่ในช่องท้องหรือ โคล่อน (Colon) กับลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานหรือเร็คตั่ม (Rectum) มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับลำไส้ใหญ่ทุกๆ ส่วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ของทั้ง 2 ส่วนจะมีลักษณะโรคและวิธีการรักษาจะแตกต่างกันบ้างแต่สาเหตุการตรวจวินิจฉัยและระยะโรคคล้ายคลึงกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอุบัติการณ์สูงกว่าในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในทุกอายุจะพบได้น้อยกว่าในอายุต่ำกว่า 40 ปี เกิดในเพศชายจะสูงกว่าในเพศหญิง
มะเร็งระยะ 4 “ดูผมเป็นตัวอย่าง อยู่รอดมาได้เพราะน้ำมันกัญชา” ทนายวรกร Terminal Cancer survivor with Cannabis treatment
สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ได้ข้อสรุปชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่พบว่ามีหลายๆ ปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แก่
- พันธุกรรม ทั้งชนิดพันธุกรรมที่ถ่ายทอดและพันธุกรรมที่ไม่ถ่ายทอด ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่หรือเกิดเป็นก้อนเนื้อโพลิบ (Polyp) ของลำไส้ใหญ่
- อาหาร บางการศึกษาวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารที่ขาดใยอาหารทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า
- บางการศึกษาพบว่าการขาดสารอาหารบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้สูงกว่าผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน
- การรับประทานผัก ผลไม้ ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เมื่อเทียบกับการรับประทานกลุ่มอื่น
- การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายที่พอเหมาะ อาจลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ระดับหนึ่ง
- การดื่มสุราหรือเบียร์ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
มะเร็งลำไส้-ข้อมูลสำคัญ-ที่คนไข้ควรอ่านDownload
อาการและอาการแสดงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่จะเป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคลำไส้ทั่วๆ ไป เช่น
- ท้องผูก สลับท้องเสียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
- อุจจาระเป็นมูกเลือด เป็นเลือดสด หรือสีดำคล้ายสีถ่าน
- ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
- อาจคลำก้อนได้ในท้อง
ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์อย่าปล่อยไว้นาน
การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และการตรวจหาระยะของโรค
- จากประวัติและการตรวจร่างกายประกอบอาการและอาการแสดงของ ผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก
- การตรวจหรือการตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
- อาจมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก
- การส่องกล้องทางทวารหนักและการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาโรคมะเร็ง
![](https://sp-ao.shortpixel.ai/client/to_webp,q_glossy,ret_img,w_1024,h_1024/http://www.sawasdeeclinic.com/wp-content/uploads/2020/12/ระยะต่างๆ-ของมะเร็ง.png)
ในการตรวจหาระยะของโรคแพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องตรวจเหมือนๆกันในผู้ป่วยทุกราย เช่น
- การตรวจช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซีทีสะแกน (CT-Scan)
- การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด
- การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูการทำงานของตับ ไต หรือ โรคเบาหวานเป็นต้น
- การตรวจภาพสะแกนของกระดูก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก เพื่อตรวจว่าได้มีโรคแพร่กระจายไปกระดูกหรือไม่
- การตรวจอัลตราซาวด์ตับถ้าสงสัยว่ามีโรคแพร่ไปตับ
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 โรคมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
ระยะที่ 2 โรคมะเร็งทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูกเป็นต้น
ความรุนแรงของลำไส้ใหญ่ความรุนแรงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่
- ระยะของโรค ระยะยิ่งสูงความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น
- สภาพร่างกาย และโรคร่วมอื่นๆ อันมีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยควรรักษาสภาพให้แข็งแรงและควบคุมโรคอื่นๆ ให้ได้
- อายุ ผู้ป่วยอายุน้อย มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามมากกว่าเพราะไม่ค่อยได้นึกถึงโรคมะเร็ง ส่วนผู้ป่วยสูงอายุมักมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษา
- ขนาดของก้อนมะเร็ง ยิ่งมีขนาดโตมากความรุนแรงของโรคจะมากกว่าในผู้ป่วยซึ่งขนาดก้อนมะเร็งเล็กกว่า
- การที่มีมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง ความรุนแรงของโรคก็จะมากกว่าการไม่มีการลุกลามของโรค
![colon cancer](https://sp-ao.shortpixel.ai/client/to_webp,q_glossy,ret_img,w_800,h_419/http://www.sawasdeeclinic.com/wp-content/uploads/2020/10/มะเร็งลำไส้-กัญชา-สวัสดีคลินิกเวชกรรม-colon-cancer.jpg)
วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด
การผ่าตัด การรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การผ่าตัด เอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก
รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์หรือหยุดตามวันราชการและวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น
เคมีบำบัด คือการให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัดและ/หรือหลังผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ การใช้เคมีบำบัดก็จะขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
กัญชาทางการแพทย์เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามะเร็งลำไส้ เมื่อมีงานวิจัยว่าการให้สารกัญชาสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็ง และลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงการลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับคนไข้
เช่น อาการปวด การทานอาหารไม่ได้ ควาททรมานจากผลข้างเคียงของเคมีบำบัด
ทั้งนี้ปัจจุบันคนไข้มะเร็งลำไส้สามารถใช้กัญชา และ ตำรับยาที่มีส่วนประกอบของกัญชาเพื่อรักษาได้ ในทางแผนไทยมีตัวยาที่้ใช้สำหรับการลดก้อนในช่องท้องบันทึกไว้
การติดตามผลการรักษา
ภายหลังรักษาครบตามกระบวนการแล้ว แพทย์ยังจะนัดตรวจผู้ป่วยสม่ำเสมอ โดยในปีแรกอาจนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ภายหลังรักษาครบ 2-3 ปีไปแล้วอาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ภายหลัง 3-5 ปี อาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือน และถ้าเกิน 5 ปีไปแล้ว อาจนัดตรวจทุก 6-12 เดือน ในการนัดมาทุกครั้งแพทย์จะ ซักประวัติและทำการตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจเลือด หรือเอกซเรย์จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไปไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยควรมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอและควรนำญาติสายตรงหรือผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน iScience โดยผู้เขียนจากมหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนาสหรัฐอเมริกาพบว่าการรักษาด้วย Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งเป็น cannabinoid ที่พบในกัญชาช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
แสดงให้เห็นว่า THC ช่วยยับยั้งการอักเสบในลำไส้ใหญ่ป้องกันการเกิดมะเร็งที่เกิดจากสารก่อมะเร็ง
เอกสารฉบับใหม่นี้อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการของ Prakash Nagarkatti, Ph.D. , และ Dr. Mitzi Nagarkatti, Ph.D จาก University of South Carolina (UofSC) School of Medicine Columbia, ภาควิชาพยาธิวิทยา, จุลชีววิทยาและ วิทยาภูมิคุ้มกัน.
In a recent study published in iScience by authors from the University of South Carolina, USA, it was shown that treatment with Δ9-tetrahydrocannabinol (THC), a cannabinoid found in the cannabis plant, prevented the development of colon cancers in mice.
It was shown that THC suppressed inflammation in the colon, preventing the onset of cancers caused by a carcinogen.
This new paper is based on research studies from the laboratories of Prakash Nagarkatti, Ph.D., and Dr. Mitzi Nagarkatti, Ph.D, at the University of South Carolina (UofSC) School of Medicine Columbia, Department of Pathology, Microbiology and Immunology.
“Longevity, Naturally”
www.sawasdeeclinic.com
สวัสดีคลีนิกเวชกรรม Sawasdee Clinic
ติดต่อสวัสดีคลีนิกเวชกรรม
➡️02-972-4013
➡️02-972-4014
➡️02-972-3981
➡️093-438-1515
➡️098-824-8121
🏥ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ทุกวัน เวลา 8.00-17.30น.
คลิ้กแอดไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40sawasdeeclinic
สวัสดีคลินิก Thailand’s Leading Medicinal Plant, Medical Cannabis Clinic, คลินิกกัญชา กัญชารักษามะเร็ง คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กัญชารักษาโรค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกัญชา คลินิกกัญชาที่ไหนดี น้ำมันกัญชา
กัญชา น้ำมัน กัญชา ราคา สรรพคุณน้ำมันกัญชา สกัด น้ำมันกัญชา ข้อดีของกัญชา สรรพคุณน้ำมันกัญชา sativa กัญชา ทางการ แพทย์ medical cannabis กัญชา รักษา โรค medical marijuana medical canabis กัญชารักษาโรคมะเร็ง กัญชารักษาโรค อะไรได้บ้าง
Add a Comment